ที่มา

ธรรมสำหรับนักบริหาร

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การแนะแนวทางการดำเนินชีวิตที่ปรากฏอยู่ในคำสอนของพุทธทาสภิกขุ

          เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า พุทธทาสภิกขุเป็นต้นแบบในการช่วยเหลือสังคมเกี่ยว กับปัญหาด้านจิตวิญญาณ และส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของบุคคลทั่วไปอย่างจริงจังเพื่อให้ สามารถนำธรรมะไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตได้ บทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งของท่าน ในการช่วยเหลือบุคคลในสังคมให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขนั้นปรากฏในคำสอน ในเรื่อง หน้าที่ของบุคคลทุกระดับ ได้แก่ เด็ก นักศึกษา ผู้สูงอายุ ครู ผู้พิพากษาหรือตุลาการ นักการเมือง พระและพุทธบริษัท และในเรื่องของการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และ ศาสนา การแนะแนวทางการดำเนินชีวิตในเรื่องต่างๆ ... (ในที่นี้ขอยกมาเสนอเฉพาะในด้านบุคคล)

ด้านหน้าที่ของบุคคล 
          พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า ธรรมะ คือ หน้าที่ หน้าที่ คือ ธรรมะ ฉะนั้นทุกคนต้องมี ธรรมะเป็นชีวิต มีชีวิตเป็นธรรมะแล้วก็จะเกิดความพอใจที่จะมีธรรมะ เพราะธรรมะเป็นเครื่องช่วยให้ชีวิตรอด และคนที่มีธรรมะโดยแท้จริงนั้น คือ คนที่ทำงานสนุก ทำหน้าที่ สนุก ไม่ใช่คนเกียจคร้าน คนที่ทำหน้าที่ของตนและหน้าที่ส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง เป็นไป ตามกฎธรรมชาติก็ได้ชื่อว่ามีธรรมะซึ่งจะก่อให้เกิดความสุขทั้งแก่ตนเองและเพื่อนมนุษย์ ดังนั้นในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของบุคคลไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดก็ตาม ถ้าทำหน้าที่ของตนอย่าง ถูกต้องและสมบูรณ์แบบก็เรียกได้ว่า เป็นการปฏิบัติธรรมนั่นเอง เช่น เมื่อทำงานที่บริษัท โรงเรียน เป็นต้น บริษัท โรงเรียนก็กลายเป็นวัด คือ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วยกันไปในตัว ทำให้เกิดบุญกุศลขึ้นมาอย่างแท้จริงนี้ เรียกได้ว่า วัดอยู่ที่ที่ทำงาน อีกประการหนึ่ง พุทธทาสภิกขุ (2514 : 245) กล่าวว่า หน้าที่นั่นแหละ คือ การงานทั้งหมด ถ้าเรียกให้ดี หน้าที่ คือ ธรรมะ หรือการปฏิบัติธรรมอยู่ตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ต้องทำให้ดี การทำงานนั้น คือ การปฏิบัติธรรม กล่าวคือ คนทำงานเพื่อให้ ร่างกายแข็งแรง ทำงานเพื่อสละความเห็นแก่ตัวซึ่งเป็นรากฐานที่ดีที่สุดของการปฏิบัติธรรม เพื่อทำลายตัวกู ของกู และทำงานเพื่อต่อสู้กับกิเลส รบรากับตัวกู - ของกู ทุกแบบ ทุกอย่าง ทุกวิถีทาง ทุกแง่ทุกมุม นั่นคือ เป็นการศึกษาเรื่องตัวกู - ของกู และเรื่องทำลาย ตัวกู - ของกู ซึ่งถือว่า เป็นตัวปฏิบัติแท้ ดังนั้น พุทธทาสภิกขุ (2549 : 222) จึงแนะแนวให้ทุกคนทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ แก่หน้าที่ซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติ เพราะธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งที่มีชีวิตนั้นมีหน้าที่ ฉะนั้นต้อง ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อย่าทำหน้าที่เพื่อเงินและเอามาซื้อหาเหยื่อของกิเลสตัณหา อย่าทำ หน้าที่เพื่อกิเลสตัณหา คือ อย่ารับจ้างกิเลสตัณหา ให้ทำหน้าที่ของมนุษย์เพื่อความเป็น มนุษย์แล้วจึงจะสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ทั้งส่วนตัวและส่วนผู้อื่นได้ บุคคลใดทำ หน้าที่ของความเป็นมนุษย์เพื่อความเป็นมนุษย์เรียกว่า มนุษย์ที่ดีที่สุด ส่วนบุคคลใดทำ หน้าที่เพื่อตัวกู - ของกูนี้ยังเป็นมนุษย์ไม่ถูกต้อง

ที่มาของบทความ file:///C:/Users/DELL/Downloads/126-146-1-PB.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น