ที่มา

ธรรมสำหรับนักบริหาร

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปปุริสธรรม ๘ ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี

          ๑. สัทธัมมสมันนาคโต ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ คือ
                    ก. มีศรัทธา
                    ข. มีหิริ
                    ค. มีโอตตัปปะ
                    ง. เป็นพหูสูต
                    จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว
                    ฉ. มีสติมั่นคง
                    ช. มีปัญญา
          ๒. สัปปุริสภัตตี ภักดีสัตบุรุษ คือ คบหาสมณพราหมณ์ ท่านผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการข้างต้น เป็นมิตรสหาย
          ๓. สัปปริสจินตี  คิดอย่างสัตบุรุษ คือ จะคิดสิ่งใด ก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
          ๔. สัปปุริสมันตี ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ คือ จะปรึกษาการใด ก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น
          ๕. สัปปุริสวาโจ พูดอย่างสัตบุรุษ คือ พูดแต่คำที่ถูกต้องตามวจีสุจริต ๔
          ๖. สัปปุริสกัมมันโต ทำอย่างสัตบุรุษ คือ ทำการที่ถูกต้องตามกายสุจริต ๔
          ๗. สัปปุริสทิฏฐิ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ มีสัมมาทิฏฐิ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
          ๘. สัปปุริสทานัง เทติ ให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ให้ตามหลักสัปปุริสทาน เช่น ให้โดยเอื้อเฟื้อทั้งแต่ของที่ตัวให้ทั้งแก่ผู้รับทาน ให้ของบริสุทธิ์ ให้โดยเข้าใจถึงผลที่จะมีตามมา เป็นต้น
          บางทีเรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ เพราะนับเฉพาะสัทธรรม ๗ ในข้อ ๑


     (มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก ๑๔/๑๔๓/๑๑๒.)

ที่มาของบทความ : http://www.oknation.net/blog/pierra/2008/12/19/entry-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น